การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของ ตม.จว.ภูเก็ต
(Integrity and Transparency Assessment of Public Service: ITAP)
ข้อมูลพื้นฐาน
การบริหาร
การบริหาร
เงินงบประมาณ
การบริหาร
ทรัพยากรบุคคล
การส่งเสริม
ความโปร่งใส
การป้องกัน
การทุจริต
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O2 อำนาจหน้าที่และพื้นที่ที่รับผิดชอบ
อำนาจหน้าที่ของ ตม.จว.ภูเก็ต
ตม.จว.ภูเก็ต มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522, พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงานที่ได้รับมอบหมายตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ภารกิจและหน้าที่แบ่งเป็น 4 ลักษณะงาน ดังนี้
1.งานอำนวยการ ประกอบด้วย
1.1 งานธุรการและสารบรรณ
1.2 งานบริหารงานบุคคล และงานทะเบียนพล
1.3 งานบันทึก ตรวจสอบ ควบคุม การรายงานข้อมูลสถานภาพกำลังพลของข้าราชการตำรวจในสังกัด จัดระบบงาน ตลอดจนงานพัฒนาต่างๆ ของ ตม.จว.ภูเก็ต
1.4 งานคดี และงานวินัย
1.5 งานสวัสดิการ
1.6 งานกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่ง
1.7 งานศึกษาอบรม
1.8 งานนโยบายและแผน และงานยุทธศาสตร์
1.9 งานงบประมาณการเงิน และบัญชี
1.10 งานพัสดุหรืองานส่งกำลังบำรุง
1.11 งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เช่น การบริหารจัดการเว็บไซต์ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน งานควบคุมดูแลระบบตรวจคนเข้าเมือง PIBICS และระบบ BIOMETRICS เป็นต้น
1.12 งานประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนทราบ โดยผ่านทางเว็บไซต์ , สถานีวิทยุท้องถิ่น, สื่อออนไลน์อื่นๆ , สื่อโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น
1.13 งานข้อมูล งานทะเบียนและงานสถิติ ตามภารกิจของ ตม.จว.ภูเก็ต
1.14 งานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายหรือสั่งการเป็นกรณีพิเศษ
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O2 อำนาจหน้าที่และพื้นที่ที่รับผิดชอบ
อำนาจหน้าที่ของ ตม.จว.ภูเก็ต
2.งานบริการคนต่างด้าว ประกอบด้วย
2.1 ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฎหมายอื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรับผิดชอบ ในเขตพื้นที่ ตม.จว.ภูเก็ต หรือตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด
2.2 ดำเนินการเกี่ยวกับการเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
2.3 งานดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำร้อง พิจารณาหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการขออนุญาตของคนต่างด้าวที่เข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
2.4 งานตรวจสอบการออกใบสำคัญถิ่นที่อยู่
2.5 งานจัดทำหลักฐานการสลักหลังแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก
2.6 การตรวจลงตราประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนเข้า-ออก ซึ่งจะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี
2.7 งานทะเบียนคนต่างด้าว
2.8 งานพิจารณาและสอบสวนคำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
2.9 งานตรวจลงตรา, งานเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา และงานดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร
2.10 งานพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก
2.11 ดำเนินการเกี่ยวกับการขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน , กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งกฎหมายว่าด้วยการปิโตเลียม เป็นต้น
2.12 งานดำเนินการเกี่ยวกับการเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และการเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว ในความรับผิดชอบ
2.13 งานดำเนินการเกี่ยวกับกรณีหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวสูญหาย ชำรุด หมดอายุ หรือเปลี่ยนสัญชาติไปจากเดิม
2.14 งานดำเนินการเสนอเกี่ยวกับกรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ไม่ตรงตามประเภทการตรวจลงตรา หรือการยกเว้นการตรวจลงตรา
2.15 งานดำเนินการเกี่ยวกับการรับแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าว กรณีคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน ตามมาตรา 37 แห่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
2.16 งานดำเนินการเกี่ยวกับการแจ้งการรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัยของเจ้าบ้าน, เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเคหะสถาน หรือผู้จัดการโรงแรม ตามมาตรา 38 แห่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O2 อำนาจหน้าที่และพื้นที่ที่รับผิดชอบ
อำนาจหน้าที่ของ ตม.จว.ภูเก็ต
2.17 งานเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
2.18 งานควบคุมและจัดทำหลักฐานต่างๆ กรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว รวมทั้งกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามที่ส่วนราชการ หรือองค์กรต่างๆ ประสานขอความร่วมมือ
2.19 งานดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูล ทะเบียน สถิติ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว รวมทั้งงานตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว
2.20 งานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย หรือสั่งการเป็นกรณีพิเศษ
3.งานตรวจบุคคลและพาหนะ ประกอบด้วย
3.1 ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฎหมายอื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองรับผิดชอบ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ ตม.จว.ภูเก็ต หรือตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด
3.2 งานตรวจอนุญาตบุคคลและพาหนะที่เดินทางเข้า-ออก ราชอาณาจักร
3.3 งานตรวจอนุญาตบุคคลและพาหนะที่เดินทางผ่านราชอาณาจักร
3.4 งานตรวจอนุญาตบุคคลสำคัญ และคนอพยพที่เดินทางเข้า-ออก ราชอาณาจักร
3.5 งานดำเนินการเกี่ยวกับคนต่างด้าวที่มีลักษณะต้องห้าม และคนอพยพ ที่เดินทางเข้า-ออก ราชอาณาจักร
3.6 งานดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ณ จุดตรวจบุคคลและพาหนะ ของ ตม.จว.ภูเก็ต
3.7 งานดำเนินการเกี่ยวกับการเปรียบเทียบปรับ ณ จุดตรวจบุคคลและพาหนะของ ตม.จว.ภูเก็ต
3.8 งานดำเนินการเกี่ยวกับการรายงานข้อมูล ทะเบียน สถิติบุคคลและพาหนะ ที่เดินทางเข้า-ออก ราชอาณาจักร ของ ตม.จว.ภูเก็ต
3.9 งานกำกับดูแลการปฏิบัติของแพทย์ตรวจคนเข้าเมือง
3.10 งานตรวจลงตรา และพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ณ ช่องทางอนุญาตของ ตม.จว.ภูเก็ต (VISA ON ARRIVAL)
3.11 งานดำเนินการเกี่ยวกับกรณีบุคคลเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร ผ่านช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง แต่ไม่ผ่านการตรวจอนุญาต (หลุดตรวจ) จากเจ้าหน้าที่
3.12 งานพิจารณาผลักดัน-ส่งกลับ คนต่างด้าว ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
3.13 งานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย หรือสั่งการเป็นกรณีพิเศษ
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O2 อำนาจหน้าที่และพื้นที่ที่รับผิดชอบ
อำนาจหน้าที่ของ ตม.จว.ภูเก็ต
4.งานสืบสวนปราบปรามและงานควบคุมและส่งกลับ ประกอบด้วย
4.1 งานสืบสวนป้องกัน ปราบปรามผู้กระทำความผิด ตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมาย ว่าด้วยการการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจน ความผิดอาญาตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.2 งานป้องกันและปราบปรามแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย (สัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) รวมถึงการดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวดังกล่าว ตามแนวทางของคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) หรือคณะกรรมการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย เป็นต้น
4.3 งานดำเนินการเกี่ยวกับคนต่างด้าวที่เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักร หรือถูกเพิกถอนการอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง รวมทั้งบุคคลซึ่งกระทำผิดกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือความผิดอาญาอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องหรือสืบเนื่องมาจากความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการคัดแยกเหยื่อ ตามระเบียบ ตลอดจนความผิดอาญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.4 งานตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลต่างๆ ของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว รวมทั้งกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
4.5 งานประมวลผลการจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว กฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
4.6 งานสืบสวนหาข่าวด้านการเมือง และด้านความมั่นคง ตามนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
4.7 งานสืบสวนหาข่าวเพื่อรองรับนโยบายด้านยาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายสากลและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4.8 งานรักษาความสงบเรียบร้อยในกรณีคนต่างด้าวประท้วง การก่อการร้าย การก่อวินาศกรรม หรือการชุมนุมเรียกร้องหรือกระทำการใดๆ ที่มีลักษณะอันเป็นการก่อความไม่สงบในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
4.9 งานควบคุมคนต้องห้าม ได้แก่ การบริหารจัดการควบคุม ดูแล ห้องกัก คนต่างด้าว รวมทั้ง งานพิจารณาผลักดัน ส่งกลับ คนต่างด้าว
4.10 งานดำเนินการเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีหรือไม่มีประกัน หรือหลักประกันของคนต่างด้าวที่ถูกกักตัวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
4.11 งานดำเนินการสร้างเครือข่าวด้านการข่าวภาคประชาชน ในเขตพื้นที่ชายแดน งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์
4.12 งานจัดทำข้อมูล สถิติ การจับกุมคนต่างด้าว การผลักดันส่งกลับ และ ข้อมูลคนต้องห้าม ของ ตม.จว.ภูเก็ต
4.13 งานดำเนินการเกี่ยวกับการเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
4.14 ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วย งานถวายความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญ, งานรักษาความสงบเรียบร้อยเกี่ยวกับการเดินขบวนการชุมนุม การประท้วง และการนัดหยุดงาน งานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง งานชายแดน การข่าวด้านความมั่นคง และการป้องกันหรือระงับการก่อวินาศภัย
4.15 งานประสานงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ และส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O2 อำนาจหน้าที่และพื้นที่ที่รับผิดชอบ
การปกครอง แบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล
อำเภอเมืองภูเก็ต
- ตำบลตลาดใหญ่ (Talat Yai)
- ตำบลตลาดเหนือ (Talat Nuea)
- ตำบลเกาะแก้ว (Ko Kaeo)
- ตำบลรัษฎา (Ratsada)
- ตำบลวิชิต (Wichit)
- ตำบลฉลอง (Chalong)
- ตำบลราไวย์ (Rawai)
- ตำบลกะรน (Karon)
อำเภอกะทู้
- ตำบลกะทู้ (Kathu)
- ตำบลป่าตอง (Pa Tong)
- ตำบลกมลา (Kamala)
อำเภอถลาง
- ตำบลเทพกระษัตรี (Thep Krasattri)
- ตำบลศรีสุนทร (Si Sunthon)
- ตำบลเชิงทะเล (Choeng Thale)
- ตำบลป่าคลอก (Pa Khlok)
- ตำบลไม้ขาว (Mai Khao)
- ตำบลสาคู (Sakhu)
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดช่องปากพระจังหวัดพังงาเชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานท้าวเทพกษัตรี
ทิศใต้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O3 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมาย/พระราชบัญญัติ/พระราชกำหนด/กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบ/ประกาศ/คำสั่ง/หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O4 ข้อมูลการติดต่อ และ ช่องทางการถาม-ตอบ รับฟังความคิดเห็น
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
ที่อยู่ : เลขที่ 482 ถนนภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต ภูเก็ต 83000
โทรศัพท์ 076 221 905
E-Mail : saraban_phuket.imm6@police.go.th
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
Phuket Immigration
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O5 การประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลการดำเนินงาน
ข่าวประชาสัมพันธ์
HIGHLIGHT
HIGHLIGHT
HIGHLIGHT
HIGHLIGHT
HIGHLIGHT
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเราเพิ่มเติมได้ที่
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O6 รายงานผลการปฏิบัติราชการประจำเดือน
รายงานผลการปฏิบัติราชการของ ตม.จว.ภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (แยกรายเดือน)
ตุลาคม 2566 - มกราคม 2567
มิถุนายน 2567 - กันยายน 2567
มิถุนายน 2567
กรกฎาคม 2567
สิงหาคม 2567
กันยายน 2567
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
งานตรวจบุคคล
และยานพาหนะ
งานอำนวยการ
รูปแบบมาตรฐานการปฏิบัติ (Standard Operating Procedures – SOP)
ของ สตม.
งานสืบสวนปราบปราม
งานควบคุมและส่งกลับ
งานบริการคนต่างด้าว
ระยะยาว/ระยะสั้น
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O8 คู่มือการให้บริการประชาชน
คู่มือประชาชน (Public Handbooks For Foreigner)
List of 17 Public Handbooks
List of 17 Public Handbooks
1. การขอถอนสลักหลังแจ้งออกและกลับเข้ามาอีก (Application for Withdrawal of Endorsement)
2. การขอรับใบแทนใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.17) กรณีเปลี่ยนเล่ม (Application for Substitute of Certificate of Residence (TM.17),in case of renewal)
3. การขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Application for Re-Entry Permit to Return into the Kingdom)
4. การขอแก้ไขรายการต่างๆ ในใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบแทนใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (Application for Correcting Certificate of Residence or Substitute of Certificate of Residence)
5. การขอตรวจลงตราประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี (Application for Non-Quota Immigrant Visa)
6. การขอตรวจลงตราประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีย้อนหลัง (Application for Non-Quota Immigrant Visa-Retroactive)
7. การขอรับใบแทนใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.17) กรณีสูญหาย (Application for Substitute of Certificate of Residence (TM.17), in case of loss)
8. การขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.15) (Application for Certificate of Residence (TM.15))
9. การสลักหลังแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรและกลับเข้ามาอีก (Application for Endorsement of Re-Entry Permit)
10. งานตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมรายการในหลักฐานทะเบียนคนต่างด้าว (Application for Checking and Additional Correcting of Alien Registration Document)
11. การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 (Application for Extension of Stay in the Kingdom for an alien who has been granted privileges under the Industrial Estate Authority of Thailand Act, B.E. 2522)
12. การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 (Application for Extension of Stay in the Kingdom for an alien who has been granted privileges under the Petroleum Act, B.E. 2514)
13. การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 (Application for Extension of Stay in the Kingdom for an alien who has been granted privileges under the Investment Promotion Act, B.E.2520)
14. การขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.16) (Application for Certificate of Residence (TM.16))
15. การรับแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวกรณีอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน (Notification of Residence for an alien staying in the Kingdom over 90 Days (Section 37))
16. การแจ้งที่พักอาศัยของเจ้าบ้าน เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเคหะสถาน หรือผู้จัดการโรงแรม ซึ่งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย (Notification of Residence for the house-master, the owner or the possessor of a residence, or a hotel manager where an alien has stayed (Section 38))
17. การเยี่ยมผู้ต้องกักรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ตาม มาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 (Application for Visiting a detainee who is waiting for deportation under Section 54 of the Immigration Act, B.E.2522)
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O8 คู่มือการให้บริการประชาชน
คู่มือประชาชน (Public Handbooks For Foreigner)
การขอรับและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา และการขออยู่ต่อ
การขอรับและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา และการขออยู่ต่อ
2.1 การขออยู่ต่อ – กรณีมีเหตุจำเป็นทางธุรกิจ (2.1 In the case of business necessity, for example, an applicant must stay to carry out work for a company or partnership etc.)
2.2 การขออยู่ต่อ – กรณีมีเหตุจำเป็น จะต้องอยู่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง (2.2 In the case of necessity where an applicant must carry out duties relating to investment approved by the relevant ministry, department, or bureau)
2.3 การขออยู่ต่อ – กรณีมีเหตุจำเป็นจะต้องอยู่ปฏิบัติงานในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (2.3 In the case of necessity where an applicant must carry out duties for the government, state enterprise, or other government agency)
2.4 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อการท่องเที่ยว (2.4 In the case of tourism purpose)
2.5 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อการลงทุน (2.5 In the case of investment)
2.6 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นครู หรืออาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษาของรัฐ (2.6 In the case of a teacher, professor, instructor, expert or educational personnel in a government educational institution)
2.7 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นครู หรืออาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษาของเอกชน (2.7 In the case of a teacher, professor, instructor, expert or educational personnel in a private educational institution)
2.8 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ (2.8 In the case of study in a government educational institution)
2.9 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อศึกษาในสถานศึกษาของเอกชน (2.9 In the case of study in a private educational institution)
2.10 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อฝึกสอน หรือค้นคว้าวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัย (2.10 In the case of teaching practice or conducting research in an educational institution in the Kingdom or research institute)
2.11 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นครอบครัวของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อศึกษาในสถานศึกษา (2.11 In the case of being a family member (applicable only to parents, spouse (male-female), child, adopted child, or spouse’s child) of an alien who has been permitted a temporary stay in the Kingdom for study in an educational institution according to the criterion no. 2.8 or 2.9 of this order)
2.12 การขออยู่ต่อ – กรณีปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (2.12 In the case of performing duties in the mass media)
2.13 การขออยู่ต่อ – กรณีศึกษาพระพุทธศาสนา หรือปฏิบัติศาสนกิจ (2.13 In the case of studying Buddhism or practicing religious activities)
2.14 การขออยู่ต่อ – กรณีเผยแพร่ศาสนา (2.14 In the case of a missionary)
2.15 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นช่างฝีมือ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์การพยาบาล หรือสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย (2.15 In the case of a skilled craftsman or a medical expert or a practitioner of other professions for the purpose of transferring knowledge to Thai people)
2.16 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อติดตั้ง หรือซ่อมแซมเครื่องจักร อากาศยาน หรือเรือเดินทะเล (2.16 In the case of installation or repair of machines, aircrafts, or ocean vessels)
2.17 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็น นักแสดง นักร้อง นักดนตรีประจำโรงแรม หรือประจำบริษัทที่ประกอบธุรกิจบันเทิงในประเทศไทย (2.17 In the case of an actor, vocalist, or musician working at a hotel or an entertainment company in Thailand with a paid-up registered capital of no less than Baht 20 million)
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O8 คู่มือการให้บริการประชาชน
คู่มือประชาชน (Public Handbooks For Foreigner)
การขอรับและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา และการขออยู่ต่อ
การขอรับและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา และการขออยู่ต่อ
2.18 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย (2.18 In the case of being a family member (applicable only to parents, spouse (male-female), child, adopted child, or spouse’s child) of a Thai national)
2.19 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (2.19 In case of being a family member (applicable only to parents, spouse (male-female), child, adopted child or spouse’s child) of an alien granted residence permit in the Kingdom
2.20 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นครอบครัวของคนต่างด้าวทได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (2.20 In the case of being a family member of an alien permitted a temporary stay in the Kingdom under the criterion no. 2.1, 2.2, 2.3, 2.5, 2.6, 2.7, 2.10, 2.12, 2.13, 2.14, 2.15, 2.16, 2.17, 2.21, 2.22, 2.26, 2.27, 2.29 or 2.32 of this order or Section 34(1), (2) and (7), including a family of alien granted Non-Immigrant Visa with additional letter “A” attached to visa category (applicable only to father, mother, spouse (male-female), child, adopted child, or spouse’s child), except for Non-Immigrant Visa code L-A)
2.21 การขออยู่ต่อ – กรณีมีเหตุจำเป็นจะต้องอยู่ปฏิบัติงานในองค์การกุศลสาธารณะ องค์การเอกชนต่างประเทศ มูลนิธิฯ (2.21 In the case of necessity where an alien must stay to perform duties in a public charitable organization, a foreign private organization, a foundation, an association, a foreign chamber of commerce, the Thai Chamber of Commerce, or the Federation of Thai Industries (In case of foundation and association, except professional athletes)
2.22 การขออยู่ต่อ – กรณีใช้ชีวิตในบั้นปลาย (2.22 In the case of retirement)
2.23 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อเยี่ยมญาติหรือกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เคยมีสัญชาติไทย หรือของผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือเคยมสัญชาติไทย (2.23 In the case of returning to the original homeland of a person who used to have Thai nationality or whose parent is or was of Thai nationality)
2.24 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรสหรือเยี่ยมบุตรซึ่งมีสัญชาติไทย (2.24 In the case of visiting a spouse (male-female) or a child who has Thai nationality
2.25 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาล หรือการพักฟื้น หรือเพื่อดูแลผู้ป่วย (2.25 In the case of receiving medical treatment, attending rehabilitation, or taking care of a patient)
2.26 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อการดำเนินคดีหรือดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี (2.26 In the case of litigation or court proceedings)
2.27 การขออยู่ต่อ – กรณีปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศ
(2.27 In the case of performing duties or missions for a government agency or state enterprise or other government agencies or an embassy or consulate or international organization)
2.28 การขออยู่ต่อ – กรณีมีเหตุจำเป็นโดยมีสถานทูต หรือสถานกงสุล ให้การรับรองและร้องขอ (2.28 In the case of necessity with, certification or request made by an embassy or consulate)
2.29 การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อพิสูจน์สัญชาติ (2.29 In the case of proof of nationality)
2.30 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี ผู้ควบคุมการแสดง ตลอดจนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแสดงเพื่อการบันเทิง หรือมหรสพ โดยมาเปิดการแสดงเป็นครั้งคราว (2.30 In the case of an actor, vocalist, musician, or performance director, including persons responsible for entertaining performances or plays conducted from time to time)
2.31 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่าสถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักรและยังไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ ((2.31 In the case of a person in charge of conveyance and crew of a conveyance who entered through a port, station, or locality in the Kingdom, and has not departed from the Kingdom)
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O8 คู่มือการให้บริการประชาชน
คู่มือประชาชน (Public Handbooks For Foreigner)
การขอรับและการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา และการขออยู่ต่อ
คู่มืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.32 การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นนักกีฬาอาชีพ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านกีฬาอาชีพ
(2.32 In the case of a person is an athlete or personnel relating to athletics)
การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของของบุคคลต่างด้าวซึ่งอยู่ในฐานะตามมาตรา 15 (1)-(7) แห่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 (In the case of an alien with the status in accordance with Section 15 (1)-(7) of Immigration Act B.E.2522, Person on diplomatic missions dispatched by the Government of a foreign country to perform duties in the Kingdom or who is traveling through the Kingdom to perform duties in another country)
การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรเอกสิทธิ์พิเศษ (Thailand Elite Card) (In the case of an alien who receives Thailand Elite Card)
การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) (Application for Extension of Temporary Stay in the Kingdom for an alien who receives Thailand Privilege Card
การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของบุคคลต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตพิเศษเพื่อการเข้าประเทศ ประเภท (ข) (In the case of an alien who has been granted Special Entry Permit (Category B))
การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของบุคคลต่างด้าว ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว กรณีเพื่อการท่องเที่ยว ประเภทท่องเที่ยวพิเศษ (Special Tourist Visa : STV VISA) (The case of tourism (Special Tourist Visa : STV VISA))
การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้ที่ประสงค์เข้ามาพำนักระยะยาว ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2559 ( NON – O – X) (In the case of an alien who wishes to stay for a long period according to the Cabinet Resolution dated 22 November 2016 (Non-O-X))
การอนุญาตให้แรงงานต่างด้าว สัญชาติ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงาน ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) อยู่ต่อในราชอาณาจักร (Application for Extension of Stay for a migrant worker (Nationality: Cambodia, Laos, Myanmar) who enters into the Kingdom to work under MoU on Labor Employment Visa on Arrival)
การขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) ของคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามา ณ ช่องทางอนุญาตตามประกาศกระทรวงมหาดไทยในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 (Application for Visa on Arrival (Walk-in))
การขอรับการตรวจลงตราล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Visa on Arrival) ของคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามา ณ ช่องทางอนุญาตตามประกาศกระทรวงมหาดไทยในสังกัดกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 (Application for Electronic Visa on Arrival (E-VOA))
การให้ประกันตัว คนต่างด้าวที่รอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ตาม มาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 (Application for Bail for a detainee)
การขอตรวจสอบข้อมูลการเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร ตาม มาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 (Application for Checking and Requesting for Arrival-Departure Record)
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O9 E-Service
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O10 ข้อมูลผลการดำเนินงานในเชิงสถิติ
สรุปผลการดำเนินงานในเชิงสถิติของ ตม.จว.ภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 67
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 67
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 67
O11 แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีและรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีและรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567
ของ ตม.จว.ภูเก็ต
แผนการใช้จ่าย
งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567
รายงานผลการใช้จ่าย
งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O12 ข้อมูลเงินกองทุน เพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
ข้อมูลเงินกองทุน เพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ของ ตม.จว.ภูเก็ต
ข้อมูลเงินกองทุน เพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ของ ตม.จว.ภูเก็ต
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O13 ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตม.จว.ภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (แยกรายเดือน)
ประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศเชิญชวนของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ประจำเดือน พ.ย. 66
ตุลาคม
2566
พฤศจิกายน
2566
ธันวาคม
2566
ประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศเชิญชวนของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศเชิญชวนของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ประจำเดือน ธ.ค. 66
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O13 ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตม.จว.ภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (แยกรายเดือน)
มกราคม
2567
ประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศเชิญชวนของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
กุมภาพันธ์
2567
ประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศเชิญชวนของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
มีนาคม
2567
ประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศเชิญชวนของ ตม.จว.ภูเก็ต
ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O14 สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างรายเดือน
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างของ ตม.จว.ภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (แยกรายเดือน)
ตุลาคม 2566 - มกราคม 2567
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 67
มิถุนายน 2567 - กันยายน 2567
มิถุนายน 2567
กรกฎาคม 2567
สิงหาคม 2567
กันยายน 2567
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O15 หลักเกณฑ์การบริหาร และพัฒนากำลังพล
หลักเกณฑ์การพัฒนากำลังพล
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ 2565
หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน
หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเลื่อนเงินเดือน
หลักเกณฑ์การโยกย้ายกำลังพล
หลักเกณฑ์การให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญกำลังใจ
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O16 ช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต
ช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียน
การทุจริตของ ตม.จว.ภูเก็ต
ข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตของ ตม.จว.ภูเก็ต
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O17 ประกาศนโยบายต่อต้านการรับสินบน (Anti-Bribery Policy)
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O18 การมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีตำรวจ
O19 การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบน
การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบนของ ตม.จว.ภูเก็ต
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O21 คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
แนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของ ข้าราชตำรวจในสังกัด ตม.จว.ภูเก็ต
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O22 การจัดการทรัพย์สินของราชการ ของบริจาค การจัดเก็บของกลาง และแนวทางการนำไปปฏิบัติ
รายงานผลการนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของราชการ ของบริจาค และการจัดเก็บของกลาง ของ ตม.จว.ภูเก็ต
รายงานผลการนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของราชการ ของบริจาค และการจัดเก็บของกลาง ของ ตม.จว.ภูเก็ต
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION
O23 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ตม.จว.ภูเก็ต
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต
PHUKET IMMIGRATION